ดร.ชลวิทย์ เจียรจิตต์ (อาจารย์เอก)
วิทยากรด้านภาวะผู้นำ การสร้างแรงบันดาลใจให้กับตัวเองและทีมงาน
การสื่อสาร การแก้ไขปัญหา และลดความขัดแย้งในการทำงาน
การศึกษา
- Ph.D. Sociology (ICCR Scholarship ทุน กพ. ICCR จิตวิทยาสังคม 1998)
- M.A. Sociology (Honours) เกียรตินิยม (ทุนรัฐบาล) 1996
- พธ.บ. มนุษยศาสตร์ จิตวิทยาสังคม (English Major) จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
งานปัจจุบัน
รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์เพื่อสังคม และประธานหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการทางสังคม) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
วิทยากร และนักปลุกพลังสร้างแรงบันดาลใจเชิงบวก (Happitude) ในการทำงาน การบริหาร และการใช้ชีวิตให้กับผู้บริหาร พนักงาน ในหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน และผู้ประกอบการ SME ในประเทศไทย
ที่ปรึกษาโครงการ ESSO Challenge บริษัท เอสโซ่ ประเทศไทย
ประธานผู้สอนหลักสูตร E-Learning ของสำนักงาน กพร. (สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน)
ประสบการณ์ทำงาน
งานสอนภายในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ปริญญาตรี
- สังคมและวัฒนธรรม สังคมการเมืองเศรษฐกิจ สังคมวิทยาอุตสาหกรรม สังคมวิทยาเมือง สังคมวิทยาเบื้องต้น สวัสดิการทางสังคม จิตวิทยาสังคม
ปริญญาโท
- กรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อาจารย์ตรวจสอบเครื่องมือการวิจัย พื้นฐานการศึกษาทางสังคมศาสตร์ การสื่อสารทางธุรกิจ จริยธรรมทางธุรกิจ การบริหารจัดการองค์กร จิตวิทยาสังคม CSR (Corporate Social Responsibility)
ปริญญาเอก
- สัมมนาทางสังคมศาสตร์ ทฤษฎีสังคมศาสตร์
หลักสูตรที่บรรยาย
Management
- ศิลปะการเป็นผู้นำทีมด้วยความคิดเชิงบวก (Positive Leadership and Team Spirit for Better Team Performance)
- ศิลปะการเป็นผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับทีม (Ways To Be an Inspirational Leader : Motivate, Encourage and Achieve Success)
- การแก้ปัญหา การตัดสินใจ และการจัดการความขัดแย้งในการทำงาน (Problem Solving – Decision Making – Conflict Management :: Getting It Right)
- Change Management
- Time Management
Personal Development
- จุดแรงบันดาลใจเพื่อความสำเร็จในชีวิตและการทำงาน (Spark Up Inspiration for Success)
- Happitude in The Workplace
- Effective EQ Management
- Positive Mindset
- Self Management
- Effective 9 habits
- Unity Concept
- ปลุกพลังสร้างมิตรภาพในการทำงาน
ผลงาน
ประสบการณ์การบรรยายและที่ปรึกษา (บางส่วน)
ภาครัฐ
- สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)
- สถาบันพระปกเกล้า (หลักสูตรต่าง ๆ)
- รัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร
- กระทรวงยุติธรรม กรมบังคับคดี กรมคุ้มครองสิทธิ
- กระทรวงพาณิชย์ กรมการค้าภายใน
- กระทรวงอุตสาหกรรม
- กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
- กระทรวงคมนาคม องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)
- กระทรวงพลังงาน ศูนย์อนุรักษ์พลังงานแห่งประเทศไทย
- กระทรวงกลาโหม ข้าราชการทหารกรมการพลังงานทหาร
- สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
- การไฟฟ้านครหลวง
- สำนักงานสลากกินแบ่ง
- สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)
- มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาคเอกชน
- EXXON MOBIL
- ปตท.
- บริษัทปูนซีเมนต์ไทย
- TPI Polene
- BPL (ปตท.)
- การบินไทย
- CP
- 7-11
- บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด
- Biopharm
- บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)
- Minebea
- Sun Valley (Cargill)
- TOYOTA
- HONDA
- ISUZU
- VOLVO
- ธนาคารกสิกรไทย
- ธนาคารทหารไทย
- ธนาคารนครหลวงไทย
- DTAC
- สำนักพิมพ์มติชน
- Nation
- บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด
- เมืองไทย ลิสซิ่ง
- AIA (บริษัทประกันชีวิต)
- โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท
- บริษัท ไทยเบเวอร์เรจแคน จำกัด
- เคาร์เตอร์เซอร์วิท Counter Service
- Happyland Group
- SB Furniture
- Global Wireless
ผลงานวิจัยและงานเขียน
- เขียนบทความทางวิชาการลงหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน คอลัมน์ “กระแสทรรศน์” พ.ศ. 2547 – ปัจจุบัน
- การยกระดับคุณธรรมจริยธรรมในสังคมไทย พ.ศ. 2550
- งานวิจัยเรื่องความยากจนในเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร (มูลนิธิศุภนิมิต) พ.ศ. 2547
- การจัดการด้านจริยธรรมในสังคมไทย พ.ศ. 2545
- เศรษฐกิจฐานราก จังหวัดนครนายก พ.ศ. 2544
- ความพึงพอใจของผู้ประกอบการที่มีต่อบัณฑิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. 2543
- เศรษฐศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์ตามแนวพระราชดำริ พ.ศ. 2542
- ความพึงพอใจของประชาชนลุ่มแม่น้ำโขงฝั่งไทย-ลาว (บรรณาธิการไทย) พ.ศ. 2541
กิจกรรมทางสังคม
- นักจัดรายการวิทยุ คลื่น FM.90.5 รายการมุมสะท้อน พ.ศ. 2547
- วิทยากรรับเชิญประจำรายการคนในข่าว
- วิทยากรประจำรายการคมชัดลึก วิทยุ BBC วิทยุจุฬา และ Nation Channel
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิทยากร
สำหรับการเพิ่มและการพัฒนาทักษะของผู้นำ ผู้บริหาร และหัวหน้างานนั้น โดยทั่วไปก็จะเน้นกันใน 2 ส่วนใหญ่ๆ ก็คือ ส่วนของการพัฒนาทักษะเชิงเทคนิคหรือวิธีการในการดูแลทีมงาน ไม่ว่าจะเป็นการสอนงาน การมอบหมายงาน การติดตามงาน หรือแม้แต่การให้ Feedback ในการประเมินผลการทำงาน
และส่วนที่สองก็คือ การพัฒนาทักษะการเป็นผู้นำในเชิงจิตวิทยา เช่น การสร้างแรงบันดาลใจ การจูงใจ โน้มน้าวใจ หรือแม้แต่การสร้างพลังเชิงบวกให้เกิดขึ้นกับทีมงาน และส่วนที่สองนี่เองที่ผู้นำหลายๆ คนมักจะพากันตกม้าตายเป็นส่วนใหญ่ ด้วยความสลับซับซ้อนของความคิด และวิธีการนำไปปรับใช้กับทีมงานแต่ละคนก็แตกต่างต่างกัน ทักษะในส่วนนี้ย่อมต้องอาศัยความชำนาญและเชี่ยวชาญ บวกกับประสบการณ์ในระดับหนึ่ง จึงจะทำให้ผู้บริหารสามารถจัดการกับทักษะส่วนนี้ได้อย่างดี
แต่หากคุณต้องการผู้ช่วยที่จะช่วยย่นระยะเวลาในการพัฒนาทักษะด้านนี้ให้ได้ผลเร็วยิ่งขึ้น ดร.ชลวิทย์ เจียรจิตต์ ก็จะสามารถชี้แนะแนวทางที่สำคัญและจำเป็นให้กับคุณได้ ด้วยความเชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาสังคม ซึ่งนำมาปรับใช้กับการพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำได้เป็นอย่างดี ดร.ชลวิทย์จึงเป็นหนึ่งในวิทยากรเพียงไม่กี่ท่านที่สามารถช่วยให้เหล่าผู้บริหาร หัวหน้างาน และผู้นำในองค์กรมากมาย ได้พัฒนาฝีมือในการบริหารลูกน้องและทีมงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงที่สุดในปัจจุบัน