ลูกน้องไม่ใช่เรา อย่าใช้ความเป็นเรา ตัดสินลูกน้อง by HR – The Next Gen
เรื่องทำยังไงให้ถูกใจนี่ ตอบยากชะมัด เดาจากตรงนี้ยิ่งยากไปใหญ่ และที่ต้องทำเข้าใจใหม่คือ ทำงานหนักไม่เท่ากับทำงานเก่ง get เนอะ
.
วิธีที่พอเป็นไปได้ คือลองเล็งดูซิว่าคนอื่น ๆ ที่ทำงานแล้วถูกใจหัวหน้าเค้าทำแบบไหนกัน แล้วเราลองมาประเมินดูเราต่างจากเค้าตรงไหน
.
ถ้าเราบังเอิญไปเจอหัวหน้าที่ชอบลูกน้องเข้าหา ก็ต้องถามว่าเราเข้าหาหัวหน้าเป็นหรือเปล่า ถ้าเราเจอหัวหน้าที่สั่งทีเดียว แล้วปล่อยให้ไปทำหาวิธีทำเอาเอง เรายังเป็นลูกน้องแบบนี้ต้องกลับไปถามหัวหน้าเรื่อย ๆ หรือเปล่า
.
รู้จักหัวหน้าให้มากก็จะน่าจะพอใจว่าทำยังไงเค้าถึงจะถูกใจ คิดซะว่าจีบใครซักคนมาเป็นแฟน เราต้องทำยังไงให้เค้าพอใจ
.
ข้อนี้ยกเว้นไว้สำหรับคนที่บอกว่าไม่สนหรอก หัวหน้าจะคิดยังไง แต่เราก็ต้องยอมรับผลลัพธ์ว่าหัวหน้าเค้าก็อาจจะไม่ได้แคร์เราเหมือนกันให้ได้ด้วยนะ
และแน่นอนไม่ใช่หัวหน้าทุกคนที่ตื่นเต้นกับการทำงานหนักของลูกน้อง อย่างน้อยผมคนนึงแหละ
.
ผมเป็นคนขี้เกียจ ผมไม่ชอบทำงานหนัก ผมเลยไม่อยากให้ลูกน้องทำงานหนัก ถ้าลูกน้องคนไหนจะโชว์ว่าทำงานดึกดื่น เวลาไหนก็ทำงานตลอด ถ้าจำเป็นนะผมจะชื่นชมมาก แต่ถ้าทำโดยไม่จำเป็น ผมว่ามันมีทางที่ดีกว่านั้น
.
หรือที่ต้องทำงานหนักเพราะไม่ลองมองหาวิธีที่มันง่ายกว่า เพื่อให้ชีวิตเราดีขึ้น
.
เพราะฉนั้นใครที่คิดว่า เฮ้ย เราทำงานหนักทำไมหัวหน้าไม่เคยสนใจ ลองหาวิธีใหม่ Work Smart กับ Work Hard แบบไหนที่มันใช่มากกว่ากัน
ทีนี้กลับมาที่หัวหน้านะครับ อย่าเอาแต่ใจให้มากนัก นี่ผมบอกตัวเองด้วยนะ ไม่ใช่บอกแค่คนอื่น อย่าลืมว่าลูกน้องไม่ใช่เรา ณ วันนี้ ที่จะให้ลูกน้องคิดได้ทำได้เหมือนเรา ลองมองกลับไปตอนที่เรายังเด็กสิ เราก็อาจจะทำอะไรไม่ต่างจากลูกน้องก็ได้ แล้วที่เค้ายังทำไม่ได้อย่างที่เราคิดเนี่ย คิดให้ดี ๆ เพราะเราหรือเปล่าที่ไม่สอนเค้าอ่ะ
.
อย่ากลัวว่าลูกน้องจะเก่งกว่า ถ้าคุณเจ๋งจริงนะ เข้าใจเนอะ
.
แล้วอีกอย่าง ลูกน้องแต่ละคนเค้าก็มีสไตล์การทำงานที่ไม่เหมือนกัน ถ้าเราอยากสบาย ก็ต้องรู้จักแนวทางของลูกน้องและส่งเสริมเค้าให้ถูกทางด้วย ลูกน้องยิ่งเก่ง หัวหน้ายิ่งสบายนะ
.
แต่ถ้ายังคิดว่ากลัวลูกน้องเก่งกว่า นั่นก็แปลว่าเราเองก็ไม่ได้คิดจะพัฒนาจากตรงนี้เลย
.
จริงหรือไม่จริง
.
.
เขียนโดย เพจ HR – The Next Gen

ใส่ความเห็น